วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

อันตรายจากน้ำดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิทประเภทพลาสติก



             คุณรู้หรือไม่ว่าการเก็บวางผลิตภัณฑ์อาหารในสถานที่ที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญ ไม่เว้นแม้แต่น้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับความนิยมสูง เพราะหากเก็บไว้ในที่ที่ไม่เหมาะสม ก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น 

         
- ถูกแสดงแดดหรือความร้านเป็นเวลานาน จะทำให้สารเคมีบนขวดพลาสติกสลายตัว และละลายปนในน้ำดื่ม

         
- วางน้ำดื่มไว้ใกล้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย หรือผงซักฟอก น้ำในขวดพลาสติกจะดูดกลิ่นสารเคมีเข้าไปได้ ทำให้มีกลิ่นไม่ชวนดื่ม และมีโอกาสที่สารนั้นอาจปนเปื้อนสู่น้ำดื่ม เราก็จะได้รับสารเคมีเข้าไปด้วย

         
ในกรณีที่เป็นน้ำดื่มบรรจุถัง 20 ลิตร ซึ่งเป็นภาชนะพลาสติกเช่นกัน ถ้าภาชนะหรือถังพลาสติกมีลักษณะต้องห้าม ก็อาจมีอันตรายต่อการบริโภคน้ำดิ่มได้ เช่น 

         
-มีรอยแตกร้าว / ขีดข่วนภายใน ทำให้สิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคสะสมตัวปนเปื้อนในน้ำดื่ม

         
- ตัวถังมีสีฟ้าทึบหรือเหลือง ซึ่งอาจเป็นถังน้ำที่ใช้พลาสติกรีไซเคิลแล้วใส่สีกลบเกลื่อน อาจทำให้น้ำที่บรรจุไม่สะอาด

         
- ถังมีลักษณะเป็นซอกมุม มีคอขวดหรือหูหิ้ว ซึ่งเป็นลักษณะที่ยากแก่การล้างทำความสะอาด
การเลือกซื้อน้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

         
- ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมาย อย. และมีเลขสารบบในกรอบเครื่องหมายนั้น 

         
- ฉลากจะต้องมีภาษาไทยระบุชื่อน้ำดื่ม หรือน้ำบริโภค ชื่อ และที่ตั้งของผู้ผลิตที่ชัดเจน

         
- ภาชนะบรรจุต้องสะอาด ไม่มีสารปนเปื้อนหรือรอยรั่วซึม ฝาปิดผนึกเรียบร้อย

         
- ลักษณะของน้ำดื่มต้องสะอาดใส ไม่มีตะกอน ไม่มีสิ่งเจือปน ไม่มีสี กลิ่น รส ที่ผิดปกติ

         
- น้ำดื่มชนิดบรรจุถัง 20 ลิตร ควรเลือกถังชนิดกลม มีสีขาวขุ่น หรือใส สภาพถังต้องสะอาด

         
สนิทประเภทพลาสติเพื่อสุขภาพและความปลอดภัย อย่ามองข้ามเรื่องเล็ก ๆ ที่เป็นสาเหตุของอันตรายจากน้ำดื่มในภาชนะบรรจุปิด


วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

แนวทางป้องกันและแก้ไข

            
          ควรหลีกเลี่ยงการใช้พาราเซตามอล ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับเรื้อรัง พิษสุรา ภาวะขาดสารอาหาร และในผู้ที่กำลังรับประทานยาที่กระตุ้นเหนี่ยวนำเอนไซม์ cytochrome P450 2E1  ...ห้ามทานพาราเซตามอลแล้วดื่มสุรา หากกำลังใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาบรรเทาหวัด ให้อ่านฉลากให้ดีว่ามีส่วนผสมของพาราเซตามอลหรือไม่ และไม่รับประทานซ้ำซ้อนข้าไปอีก...

         
ไม่ควรใช้ยานี้เกินวันละ 2,600 มิลลิกรัม (ประมาณ 5 เม็ด ในขนาด 500 mg, จำนวน 8 เม็ดในขนาด 325 มิลลิกรัม) ขนาดรับประทานคือ 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม สูงสุดไม่เกินครั้งละ 650 มิลลิกรัม การใช้ยาในเด็กเล็กให้ดูฉลาก และคำนวณความต้องการให้ถูกต้องก่อนเสมอ เพราะยาน้ำนี้ในประเทศไทยมีหลายขนาด ปริมาณมิลลิกรัมต่อหนึ่งช้อนชาแตกต่างกันไป

         
ใช้พาราเซตามอลติดต่อกันไม่เกิน 3 วัน ควรปรึกษาแพทย์หากอาการต่าง ๆ ไม่ดีขึ้น เพื่อค้นหาสาเหตุโรคที่แท้จริง และแก้ไขตรงจุดต่อไป

         
การใช้ยาทางเลือก สามารถเลือกได้หลายขนาน เช่น ยาเขียวแก้ไข้ ยาจันทลีลา ยาฟ้าทะลายโจร ยาขมชนิดต่างๆ  ล้วนมีฤทธิ์ลดไข้

         
หากจะต้องการใช้พาราเซตามอลให้ปลอดภัย คือ รับประทาน N-Actyl Cysteine ร่วมไปด้วย ก็จะเพิ่มปริมาณกลูต้าไธโอนในตับ ทำให้สารพิษ toxic metabolite  ชื่อ NAPQI ที่เกิดจากขบวนการดีท๊อกพาราเซตามอลที่ตับมีจำนวนลดลง โดยถูกกลูต้าไธโอนจับเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่ไม่อันตรายขับออกจากร่างกายได้

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

สาเหตุของภาวะพิษจากพาราเซตามอล


         
ภาวะพิษจากพาราเซตามอลเกิดขึ้นได้จากเหตุโดยตั้งใจ คือการรับประทานยาเกินขนาดเพื่ออัตวินิบาตกรรม และโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ  ดังนี้ 
         
1.รับประทานยาชนิดอื่นที่มีส่วนผสมของราราเซตามอลโาดยไม่ทราบ แล้วรับประทานพาราเซตามอลเข้าไปอีก เนื่องจากปัจจุบันยาหลายชนิดมีส่วนผสมของพาราเซตามอล เช่น ยาบรรเทาหวัดลดไข้ ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ยาคลายกล้ามเนื้อหลายชนิด 
         
2. ปัจจัยเฉพาะบุคคลที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตับได้ง่าย เช่นในผู้ที่ดื่มสุรา ผู้ป่วยโรคตับภาวะขาดสารอาหารซึ่งส่งผลให้ระดับกลูต้าไธโอนลดลง ในกลุ่มนี้ก่อให้เกิดพิษจากพาราเซตามอลได้ง่าย แม้ว่าจะรับประทานในขนาดปกติก็ตาม
         
3. การใช้ยาร่วมกัน โดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ในระบบขับสารพิษชื่อ CYP450 2E1 ในตับเช่นยา phenytoin, carbamazepine, rifampin เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

พาราเซตามอล อันตรายอย่างไร?


         
ในแต่ละปี สหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยที่ได้รับรายงาน ความเป็นพิษจากยาพาราเซตามอลประมาณ 100,000 ราย ถูกนำส่งห้องฉุกเฉิน 56,000 ราย ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล 26,000 ราย การใช้พาราเซตามอลเป็นประจำจะทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งไตเพิ่มขึ้นเท่าตัว ซึ่งโรคนี้คร่าชีวิตคนอเมริกัน 12,000 ราย ต่อปี อุบัติการณ์ในการเกิดมะเร็งไตในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นถึง 126% นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา การก้าวกระโดดของการเกิดโรคนี้อาจจะเกี่ยวโยงกับการใช้ยาที่ผสมพาราเซตามอลเพิ่มขึ้น เนื่องจากอนุมูลอิสระจาก toxic metabolite ของพราราเซตามอลกระจายไปทั่วร่างกาย เพราะฉะนั้นก็สามาารถทำให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับความแก่ชราอย่างอื่นได้อีก นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองในสัตว์พบว่าพาราเซตามอลทำให้เกิดต้อกระจกในสัตว์ทดลองได้

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

ภัยเงียบจากพาราเซตามอล


        พาราเซตามอล เป็นยาสามัญประจำบ้านที่เรียกได้ว่าแทบจะมีติดบ้านกันเกือบทุกหลังคาเรือน และดูเหมือนว่าเราจะใช้ยาชนิดนี้ตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ ให้กับลูก ๆ หลาน ๆ ให้กับตัวเอง ใช้เรื่อยไปตั้งแต่ปวดหัว เป็นไข้ ตัวร้อน ปวดประจำเดือน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดฟัน ฯลฯ เป็นยาสามัญที่สามารถซื้อหาได้อย่างสะดวก และเราจะพบยาตัวนี้ ทั้งที่เป็นยาเดี่ยว เช่น ไทลีนอล, พานาดอล, เทมปร้า, คาลปอล, ซาร่า หรือเป็นยาผสมในยาตัวอื่น เช่น ทิฟฟี่, ดีคอลเจน ฯลฯ

        
อย่างไรก็ตาม การใช้ยานี้อย่างพร่ำเพรื่อ และใช้ติดต่อกันนานเกินไป อาจก่อนปัญหาภาวะพิษต่อตับได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เราอาจจะรู้สึกแปลกใจที่ทราบว่าสาเหตุลำดับต้น ๆ ของการเกิดตับวาย ไม่ใช่มาจากแอลกอฮอล์ หรือมาจากไวรัสตับอักเสบ แต่สาเหตุอันดับหนึ่งกลับมาจากยาโดยเฉพาะพาราเซตามอล เพื่อนคู่บ้านนั่นเอง

        
มีผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาใโรงพยาบาลเนื่องจากพิษของพาราเซตามอล เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเกิดตับวายในประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากตับวาย จากพาราเซตามอลต่อปีในปัจจุบันยังสูงกว่าตัวยารักษาเบาหวานRezulin (troglitazone) ซึ่งถูกถอดทะเบียนออกไปแล้วเนื่องจากพิษต่อตับเสียอีก 

          กลไกการทำลายตับของยา
Acetaminophen หรือพาราเซตามอลนี้ พบว่ายาชนิดนี้เมื่อใช้ในร่างกาย การจะขับออกไปจากร่างกายได้ต้องผ่านขบวนการขับพิษที่ตับสองขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่งก่อให้เกิดสารผลิตผลที่เป็นพิษ (Toxic metabolite) ชื่อ NAPQI ซึ่งต้องเข้าสู่ขั้นตอนที่สองซึ่งใช้สารกลูต้าไธโอนในตับลดลง หากใช้นานติดต่อกันหรือใช้เกินขนาด ก็จะทำให้ระดับสารผลิตผลที่เป็นพิษนี้เพิ่มมากขึ้นส่งผลเป็นพิษต่อตับรุนแรงในที่สุด ดังนั้น ถ้าหากสามารถผลิตยาที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอล และ N-acetyl cysteine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยเพิ่มระดับของสารกลูต้าไธโอนในเซลล์ได้ วิธีการนี้อาจจะสามารถกำจัด หรือช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากพาราเซตามอลได้ (ซีสเทอีนเป็นส่วนประกอบในยาขับเสมหะ เป็นกรดอะมิโนซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตกลูต้าไธโอน หากต้องการให้ระดับกลูต้าไธโอนในเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเซลล์ตับสูงขึ้นจะใช้ N-acetyl Cysteine เพราะการรับประทานกลูต้าไธโอนโดยตรง อาจไม่ได้ผลเช่นนั้นมากนัก เนื่องจากกลูต้าไธโอนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงถูกใช้ไปในการต้านอนุมูลอิสระในระบบทางเดินอาหาร หากดูดซึมเข้าไปบ้างก็จะถูกใช้ไปในการต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในกระแสโลหิต)


          เนื่องจากว่าพาราเซตามอล เและอเซทิลซีสเทอิน
N-acetyl cysteine มีจำหน่ายทั่วไป เราอาจจะคิดว่าการออกสูตรยาพาราเซตามอลซึ่งปลอดภัยไม่น่ายก แต่ที่จริงแล้วมันเป็นปัญหาใหญ่เพราะ FDA สหรัฐอเมริกาไม่อนุญาตให้ใส่ตัวยาทั้งสองเข้าด้วยกันจนกว่าการจดทะเบียนเป็นยาตำรับใหม่จะได้รับการอนุมัติ คือต้องผ่านการศึกษาวิจัยทางคลินิก และต้องผ่านการอนุมัติจาก FDA จึงจะสามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้ ขวบนการทั้งหลายเหล่านี้ต้องใช้เงินนับร้อยล้านเหรียญ และใช้เวลานับทศวรรษถึงจะสำเร็จลงได้ ด้วยเหตุนี้ยาสูตรใหม่ พาราเซตามอลที่ปลอดภัยจึงไม่เคยออกสู่ท้องตลาดเลย

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

สัตว์ตายปริศนา สัญญาณโลกาวินาศ?


            กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันไปทั่วโลก สำหรับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เมื่อหลายพื้นที่บนโลกได้เผชิญกับภัยพิบัติครั้งยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิด ขึ้นมาก่อน เผชิญกับความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ อีกทั้งยังมีเหตุการณ์แปลกประหลาดเกิดขึ้นอีกมากมาย จึงไม่แปลกที่จะเกิดคำถามที่ว่า สิ่งเหล่านี้คล้ายกับจะเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าโลกกำลังมาถึงจุดเปลี่ยน อย่างเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ หรือไม่

                          
                                                     นกตายเกลื่อนถนนในหลุยเซียนา

          ล่าสุด เหตุการณ์แปลกประหลาดซึ่งได้กลายเป็นปริศนาของคนทั่วโลกไปอีกหนึ่งประเด็นในขณะนี้ ก็คือ เหตุการณ์สัตว์ในหลายพื้นที่ตายอย่างหาสาเหตุไม่ได้ เริ่ม จากที่มลรัฐอาร์คันซอส์ สหรัฐฯ มีนกแบล็กเบิร์ดกว่า 5,000 ตัวตกลงมาตายเกลื่อนถนน ในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ขณะที่ปลาดรัมฟิชกว่า 100,000 ตัว ก็ตายเกลื่อนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ในช่วงเวลาเดียวกัน สร้างความฉงนสงสัยให้กับชาวเมืองเป็นอย่างมาก เพราะมีเพียงนกแบล็กเบิร์ดกับปลาดรัมฟิชเท่านั้นที่ตาย ส่วนปลาและนกชนิดอื่นไม่ได้มีรายงานแต่อย่างใด ขณะที่ในเคนตั๊กกี้ ก็มีนกตายให้เห็นประปราย โดยได้รับการเปิดเผยจากหญิงสาวคนหนึ่งว่า มีนกตกลงมาตายบริเวณบ้านของเธอ 10 กว่าตัวเลยทีเดียว และที่หลุยเซียน่า นกแบล็กเบิร์ดปีกแดง นกสตาร์ลิ่ง และนกกระจอก รวมแล้วกว่า 5,000 ตัว ก็ตกลงมาตายเกลื่อนในช่วงปีใหม่ และนอกจากนี้รัฐอื่น ๆ ในสหรัฐฯ ก็มีนกและปลาตายเช่นกัน ได้แก่ อิลลินอยส์ เทนเนสซี มิสซิสสิปปี้ แมร์รี่แลนด์ และมิสซูรี
สัตว์น้ำตายที่โบลิเวีย

        นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่มีสัตว์ตายเกลื่อนมาตั้งแต่ช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ เช่น ใน เวียดนาม ได้มีปลาหลายพันตัวลอยแพขึ้นเหนือน้ำ สร้างความประหลาดใจให้กับชาวบ้าน และพวกเขาไม่สามารถจับปลาสดไปขายได้อีก และก่อนหน้านั้น เมื่อประมาณเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ก็มีจระเข้ เต่า ปลาโลมา และสัตว์น้ำอีกหลายชนิดลอยตายเกลื่อนในทะเลสาบและแม่น้ำในประเทศโบลิเวีย
 
         อย่างไรก็ตาม การตายของสัตว์ต่าง ๆ ยังอยู่ระหว่างการชันสูตรเพื่อค้นหาสาเหตุการตายที่แท้จริง ซึ่งก็ยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาเลยแม้แต่น้อย แต่ในช่วงนี้ก็มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสาเหตุการตายของสัตว์เหล่านี้มากมาย บ้างก็ว่าเป็นเพราะนกตกใจเสียงพลุและแสงสีช่วงปีใหม่ บ้างก็ว่าเกิดจากมลพิษในอากาศและน้ำ

 




       ทั้งนี้ แม้จะไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่า การตายปริศนาของสัตว์ต่าง ๆ จะเกิดขึ้นจากการที่สนามแม่เหล็กโลกกลับขั้ว แต่หากพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็จะพบว่ามีภัยพิบัติครั้งใหญ่เกิดขึ้น สร้างความเสียหายให้กับมนุษย์อย่างมากมาย อีกทั้งโลกก็ยังมีอุณหภูมิสูงขึ้นทุกวันและเกิดพายุสุริยะในบางพื้นที่ ดังนั้น ก็อาจเป็นไปได้ว่าการตายของสัตว์ที่เกิดขึ้นนี้ อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่แสดงให้เห็นว่า โลกใบนี้กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ และกำลัง "เริ่มต้น" นับถอยหลังสู่จุดหายนะที่เรียกว่ายุคโลกาวินาศอีกครั้งตามวัฏจักรของโลก หลังจากที่มันเคยเกิดขึ้นและทำให้สัตว์จำพวกไดโนเสาร์สาบสูญไปมาแล้วเมื่อ หลายล้านปีก่อน