วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

ภัยเงียบจากพาราเซตามอล


        พาราเซตามอล เป็นยาสามัญประจำบ้านที่เรียกได้ว่าแทบจะมีติดบ้านกันเกือบทุกหลังคาเรือน และดูเหมือนว่าเราจะใช้ยาชนิดนี้ตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ ให้กับลูก ๆ หลาน ๆ ให้กับตัวเอง ใช้เรื่อยไปตั้งแต่ปวดหัว เป็นไข้ ตัวร้อน ปวดประจำเดือน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดฟัน ฯลฯ เป็นยาสามัญที่สามารถซื้อหาได้อย่างสะดวก และเราจะพบยาตัวนี้ ทั้งที่เป็นยาเดี่ยว เช่น ไทลีนอล, พานาดอล, เทมปร้า, คาลปอล, ซาร่า หรือเป็นยาผสมในยาตัวอื่น เช่น ทิฟฟี่, ดีคอลเจน ฯลฯ

        
อย่างไรก็ตาม การใช้ยานี้อย่างพร่ำเพรื่อ และใช้ติดต่อกันนานเกินไป อาจก่อนปัญหาภาวะพิษต่อตับได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เราอาจจะรู้สึกแปลกใจที่ทราบว่าสาเหตุลำดับต้น ๆ ของการเกิดตับวาย ไม่ใช่มาจากแอลกอฮอล์ หรือมาจากไวรัสตับอักเสบ แต่สาเหตุอันดับหนึ่งกลับมาจากยาโดยเฉพาะพาราเซตามอล เพื่อนคู่บ้านนั่นเอง

        
มีผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาใโรงพยาบาลเนื่องจากพิษของพาราเซตามอล เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเกิดตับวายในประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากตับวาย จากพาราเซตามอลต่อปีในปัจจุบันยังสูงกว่าตัวยารักษาเบาหวานRezulin (troglitazone) ซึ่งถูกถอดทะเบียนออกไปแล้วเนื่องจากพิษต่อตับเสียอีก 

          กลไกการทำลายตับของยา
Acetaminophen หรือพาราเซตามอลนี้ พบว่ายาชนิดนี้เมื่อใช้ในร่างกาย การจะขับออกไปจากร่างกายได้ต้องผ่านขบวนการขับพิษที่ตับสองขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่งก่อให้เกิดสารผลิตผลที่เป็นพิษ (Toxic metabolite) ชื่อ NAPQI ซึ่งต้องเข้าสู่ขั้นตอนที่สองซึ่งใช้สารกลูต้าไธโอนในตับลดลง หากใช้นานติดต่อกันหรือใช้เกินขนาด ก็จะทำให้ระดับสารผลิตผลที่เป็นพิษนี้เพิ่มมากขึ้นส่งผลเป็นพิษต่อตับรุนแรงในที่สุด ดังนั้น ถ้าหากสามารถผลิตยาที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอล และ N-acetyl cysteine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ช่วยเพิ่มระดับของสารกลูต้าไธโอนในเซลล์ได้ วิธีการนี้อาจจะสามารถกำจัด หรือช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากพาราเซตามอลได้ (ซีสเทอีนเป็นส่วนประกอบในยาขับเสมหะ เป็นกรดอะมิโนซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตกลูต้าไธโอน หากต้องการให้ระดับกลูต้าไธโอนในเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเซลล์ตับสูงขึ้นจะใช้ N-acetyl Cysteine เพราะการรับประทานกลูต้าไธโอนโดยตรง อาจไม่ได้ผลเช่นนั้นมากนัก เนื่องจากกลูต้าไธโอนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงถูกใช้ไปในการต้านอนุมูลอิสระในระบบทางเดินอาหาร หากดูดซึมเข้าไปบ้างก็จะถูกใช้ไปในการต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในกระแสโลหิต)


          เนื่องจากว่าพาราเซตามอล เและอเซทิลซีสเทอิน
N-acetyl cysteine มีจำหน่ายทั่วไป เราอาจจะคิดว่าการออกสูตรยาพาราเซตามอลซึ่งปลอดภัยไม่น่ายก แต่ที่จริงแล้วมันเป็นปัญหาใหญ่เพราะ FDA สหรัฐอเมริกาไม่อนุญาตให้ใส่ตัวยาทั้งสองเข้าด้วยกันจนกว่าการจดทะเบียนเป็นยาตำรับใหม่จะได้รับการอนุมัติ คือต้องผ่านการศึกษาวิจัยทางคลินิก และต้องผ่านการอนุมัติจาก FDA จึงจะสามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้ ขวบนการทั้งหลายเหล่านี้ต้องใช้เงินนับร้อยล้านเหรียญ และใช้เวลานับทศวรรษถึงจะสำเร็จลงได้ ด้วยเหตุนี้ยาสูตรใหม่ พาราเซตามอลที่ปลอดภัยจึงไม่เคยออกสู่ท้องตลาดเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น