วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เรื่องน่ารู้ของประโยชน์สาหร่าย

                                                                                                    

  • ไอโอดีน โดย ปกติแล้วคนเราต้องการไอโอดีนประมาณ 0.1-0.3 มิลลิกรัมต่อวัน หากเทียบกับการกินสาหร่ายทะเลชนิดแผ่นขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร แค่นี้ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน และช่วยป้องกันโรคคอพอกได้
  • ธาตุเหล็ก เป็นสารอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในสาหร่ายทะเล ซึ่งช่วยบำรุงผิวพรรณให้ดูเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล รวมทั้งบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นมันเงางามมากยิ่งขึ้น
  • ทองแดง หน้าที่ดูดซึมธาตุเหล็กและสร้างฮีโมโกลบินที่ไขกระดูก หากร่างกายขาดธาตุนี้จะทำให้เป็นโรคโลหิตจางและผมร่วงง่าย
  • สังกะสี เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิดในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
  • ใยอาหาร ช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ ทำให้ท้องไม่ผูก และเร่งการขับถ่ายสารพิษต่างๆ ในทางเดินอาหาร

สาหร่ายทะเลกินมากไปก็อันตราย
สาหร่ายทะเลอบกรอบ เป็นของกินเล่นที่เด็กๆ ส่วนใหญ่ชอบกันมาก ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าดีใจสำหรับพ่อแม่ทั้งหลาย เพราะว่าสาหร่ายทะเลเป็น อาหารชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย (ดีกว่าไปกินขนมที่ไม่มีประโยชน์) มีแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายหลายชนิด เช่น ไอโอดีน (ซึ่ง จำเป็นต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์) ทองแดง และเหล็ก(มีประโยชน์ต่อเลือด) แมกนีเซียม (ช่วยให้กล้ามเนื้อ และประสาท ทำงานอย่างมีประสิทธิ-ภาพ) แคลเซียม (ช่วยบำรุงกระดูก) โพแทสเซียม(ช่วยควบคุมเซลล์ทั้ง หลาย รวมถึงความสมดุลของน้ำในร่างกาย) สังกะสี (ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน) กากใยอาหาร (ทำให้ท้องไม่ผูก) รวมทั้งวิตามินบีและ เบต้าแคโรทีนด้วย
ตามปกติสาหร่ายอบแห้งธรรมดา ที่ยังไม่นำมาปรุงอาหารก็มี รสเค็มโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อนำมาปรุงรสโดยการอบซอส (เป็นของกินเล่น) ปริมาณของโซเดียมในสาหร่ายจึงมีมากขึ้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงและสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนควรจะทราบไว้ ก็คือ อย่าให้ลูกกินสาหร่ายปรุงรสมากเกินไป (เคยทราบมาว่าเด็กๆบางคนกินสาหร่ายครั้งหนึ่งเกือบ ๕๐ ซองเล็กๆ เพราะอร่อยจนยั้งไม่อยู่) เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับไอโอดีน มากเกินความต้องการ ซึ่งจะมีผลทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ  มีอาการกระวนกระวายใจสั่น และหิวตลอดเวล
                  นอกจากนี้สาหร่ายทะเลยังมี สารจำพวกนิวคลีอิก ซึ่งร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นกรดยูริกได้ แล้วถ้ากินมากๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้เป็นโรคเกาต์ได้ด้วย ขณะเดียวกันผู้ที่เป็นโรคไตหรือความดันเลือดสูง ก็จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ในการกินสาหร่ายที่มีเกลือโซเดียมสูง สำหรับสาหร่ายทะเลนั้น สารพิษที่มักปนเปื้อนคือ แคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะหนัก มักใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้า กระดาษ เมื่อโรงงานเหล่านี้ปล่อยน้ำทิ้งลงไปในแม่น้ำหรือทะเล สิ่งมีชีวิตหรือพืชผักแถวนั้นก็จะได้รับสารพิษไปด้วย

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สาหร่าย พลังงานใหม่จากโลกใต้น้ำ

          สาหร่าย พลังงานใหม่จากโลกใต้น้ำ
          นานนับศตวรรษที่น้ำมันดิบเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และนับวัน      ยิ่งมีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น ทว่าปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันตลอดจนสถานะ การเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป   รวมทั้งเป็นสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม   ทำให้หลายประเทศทั่วโลกคิดค้นพลังงานใหม่ ๆ ขึ้นมาทดแทน และหนึ่งในนั้นคือ พลังงานจากพืช หรือพลังงานสะอาด
           ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติซึ่งมีภาระหน้าที่หลักโดยตรงในการแสวงหาพลังงานใหม่ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในอนาคต จึงมุ่งมั่น คิดค้น และวิจัยเรื่องพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง  โดยเน้นไปที่ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   โดยร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน   เพื่อศึกษาตั้งแต่สายพันธุ์ กระบวนการผลิต และเทคโนโลยีในการผลิตพัฒนาจนเกิดเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ เช่น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีเซลปาล์ม (บริสุทธิ์) น้ำมันจากผลสบู่ดำ (กำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย) เป็นต้น   และในปัจจุบันพลังงานความหวังใหม่ของคนไทย ทั้งประเทศที่นักวิทยาศาสตร์ต่างให้ความสนใจ คือ สาหร่าย สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีคุณค่าอเนกอนันต์

          จะให้น้ำมันร้อยละ 25 ในขณะที่สาหร่ายให้น้ำมันมากถึงร้อยละ 1,000 ปริมาณน้ำมันนี้อาจเพียงพอกระทั่งผลิตเพื่อส่งออกต่างประเทศได้            สาหร่ายจัดเป็นพืชชั้นต่ำที่มีคลอโรฟิลล์สูง   จึงใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมากเพื่อสังเคราะห์แสง   ทั้งยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารไม่ว่าจะเป็น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เกลือแร่ และวิตามินหลายชนิด  ที่สำคัญคือมีน้ำมันในปริมาณมากที่จะสกัดออกมาใช้ หากมีการปลูกและการควบคุมตัวแปร รวมถึงสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดีจะมีส่วนช่วยทำให้สาหร่ายมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าพืชชนิดอื่น ๆ ทำให้เห็นถึงความเป็นไปได้หากนำมาศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นพืชพลังงาน ต่อไป

           จากการที่คณะนักวิจัยสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ได้เดินทางไปดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศนำร่องการผลิตน้ำมันจากสาหร่ายเพื่อมาใช้กับรถยนต์ จึงได้นำองค์ความรู้มาใช้ในการพัฒนาไบโอดีเซลในประเทศไทย โดย ปตท. ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และ BIOTEC ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาการผลิตน้ำมันจากสาหร่าย ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ การออกแบบระบบเพาะเลี้ยง และการสกัดน้ำมัน
         

             รศ.ดร.ประหยัด   โภคฐิติยุกต์ อาจารย์และนักวิจัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ได้รับทุนจาก ปตท. เพื่อวิจัยการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากสาหร่าย   ได้กล่าวถึงงานวิจัยในช่วงเบื้องต้นว่า สาหร่ายสีเขียว 3 ชนิด ที่นำมาทดสอบจะให้น้ำมันประมาณร้อยละ 20 -30    ขณะที่สาหร่ายทั่วไปจะให้น้ำมันเฉลี่ยราวร้อยละ 7-14   และสาหร่ายที่โตเร็วก็มักจะให้น้ำมันน้อยกว่าสาหร่ายที่โตช้า   คณะวิจัยได้เพาะเลี้ยงสาหร่ายในห้องทดลอง   เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งให้น้ำมันมากแล้วจึงขยายลงสู่บ่อเพาะเลี้ยงต่อไป   นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าสภาพแวดล้อมในประเทศไทยเหมาะแก่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายอย่างยิ่ง เพราะภายใน 24 ชั่วโมงสาหร่ายก็เติบโตได้อย่างสมบูรณ์   ขณะที่พืชพลังงานอื่น ๆ ต้องใช้เวลาเพาะปลูกนานกว่า 6-7 ปี  จึงจะสกัดน้ำมันได้ รศ.ดร.ประหยัดได้เปรียบเทียบว่าหากเลี้ยงสาหร่ายในบ่อพื้นที่ขนาดเท่ากับพื้นที่ปลูกสบู่ดำ 1 ต้น   เป็นเวลา 7 ปี สบู่ดำ


          ในส่วนของกรรมวิธีในการสกัดน้ำมันจากสาหร่ายนั้นคณะวิจัยได้นำองค์ความรู้ที่สืบเนื่องมาจากการวิจัยพืชพลังงานรุ่นก่อน   โดยวางแนวทางได้ 5 วิธี ได้แก่ การใช้แรงเหวี่ยงแยกเอาน้ำมันออก   การตกตะกอนแยกเอาตัวสาหร่ายออก การใช้สารละลายทางเคมีละลายเอาน้ำมันออก การใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นให้สาหร่ายคลายน้ำมัน และบีบอัดเพื่อให้คลายน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ยังเป็นแนวทางที่ยังต้องศึกษาต่อไปว่าวิธีใดเหมาะสมกับเครื่องยนต์และความต้องการในการใช้งานของคนไทยมากที่สุด   ในทางอ้อม ผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันจากสาหร่าย คือการนำกากสาหร่ายที่ตกตะกอนไปใช้เป็นวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น อาหารสัตว์ ปุ๋ย ยา เป็นต้น   นอกจากนี้สาหร่ายยังเอื้อประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ทั้งการสร้างงานของเกษตรกรสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ   บรรเทาผลกระทบจากวิกฤติราคาน้ำมันที่มีต่อทุกภาคส่วนของสังคม ก่อเกิดการขยายตัวของธุรกิจปิโตรเลียมและธุรกิจอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง

          ดร.ส่งเกียรติ   ทานสัมฤทธิ์   ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ได้เคยให้ทัศนะต่อการนำสาหร่ายมาเป็นพืชพลังงานว่า ไม่เพียงยังเป็นประโยชน์ในการเป็นพลังงานทดแทน การเพาะเลี้ยงสาหร่ายเป็นจำนวนมากยังช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดรออกไซด์จากการเผาไหม้ต่างๆ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีในการช่วยบรรเทาปัญหาโลกร้อนได้   และคาดว่าในอีก 2-3 ปี ข้างหน้าแวดวงพลังงานของไทยอาจค้นพบพลังงานรูปแบบใหม่ ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการใช้น้ำมันของคนไทยทั้งประเทศ
                อย่างไรก็ตาม ปตท. ยังมุ่งหวังให้พลังงานน้ำมันจากสาหร่ายเป็นพลังงานทางเลือกใหม่   เตรียมพร้อมไว้ใช้ในอนาคต   เพื่อให้ประเทศสามารถใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเกิดการคิดค้นพลังงานทดแทนเป็นทางออกให้กับวิกฤติทางด้านพลังงานในครั้งนี้   จิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าก็เช่นกัน   หากโลกต้องประสบภาวะขาดแคลนจนถึงจุดที่มนุษย์ทุกคนไม่มีน้ำมันดิฐใช้   พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาด สาหร่าย อาจเป็นหนึ่งทางรอดที่ช่วยเยียวยาเรื่องวิกฤติพลังงานน้ำมันของมนุษยชาติในอนาคต





วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ไก (สาหร่ายน้ำจืด)

ไก (สาหร่ายน้ำจืด)
                  ถ้าพูดถึงสาหร่ายที่ชาวบ้านในแถบภาคเหนือนำมาปรุงเป็นอาหารแล้วล่ะก็   แน่นอนว่าทุกครอบครัวที่เป็นคนเหนือแท้ ๆ จะรู้จักอาหารจานเด็ดที่เรียกกันว่า    "ยำเตา" อาหารจานนี้ทำมาจากสาหร่ายเตา  ซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวสด  มีลักษณะเป็นเส้นสาย  มีเมือก-ลื่น ๆ  ล้างให้สะอาด  แล้วนำมาใส่เครื่องยำ    ซึ่งได้แก่  มะเขือแจ้หรือมะเขือพวงลูกเล็ก ๆ หั่นเป็นแว่น  ตะไคร้ซอย  หอมแดงซอย  พริกขี้หนูซอย  น้ำมะนาว  น้ำปลา  บางแห่งอาจใส่น้ำปู  ปลาต้มหรือปลาย่างลงไปด้วย  แล้วรับประทานกับข้าวเหนียวร้อน ๆ อร่อยอย่าบอกใคร!   แต่สำหรับคนน่านและคนเชียงของ  จังหวัดเชียงราย  เขามีสาหร่าย ไก   ซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียว  มีลักษณะเป็นเส้นสายคล้ายสาหร่ายเตา  มาเป็นอาหารอย่างหรูเริ่ดกว่า  เพราะในปัจจุบันเขาพยายามจะแปรรูปสาหร่าย  ไก  เป็นอาหารหลากชนิด  เพื่อหาตลาดที่สามารถจำหน่ายได้กว้างขวางขึ้น  เพื่อให้เป็นอาชีพที่มั่นคงของชาวบ้านในละแวกนั้น ๆ ทีเดียว
               “ไก  เป็นสาหร่ายน้ำจืดที่ขึ้นอยู่บนก้อนหินในน้ำไหลเอื่อย ๆ  ที่ค่อนข้างใสและเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี    ไก  มีลักษณะเป็นเส้นสายยาวสีเขียวสด  พบมากในฤดูหนาวจนถึงฤดูฝน  ระหว่างเดือนพฤศจิกาถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี  แหล่งน้ำบริเวณที่มีสาหร่ายไกมาก
เป็นพิเศษในประเทศไทยนั้นมี 
2  แหล่ง  คือ 
 
               -  แม่น้ำน่าน  จังหวัดน่าน  ตั้งแต่ต้นน้ำที่อำเภอทุ่งช้างเรื่อยไปจนถึงแม่น้ำ น่าน   
                   อำเภอเวียงสา  แต่จะมีมากที่สุดที่อำเภอท่าวังผา
   -  แม่น้ำโขง  บริเวณอำเภอเชียงของ  จังหวัดเชียงราย 
      “ไก  จะมีอยู่ 3 ชนิด  คือ
1.  ไกเหนียวหรือไกค้าง  มีสีเขียวเข้มยาว ไม่แตกแขนง เนื้อไม่ฟู มีน้ำหนักพอสมควร
      ยาวประมาณ 2     เมตร
2.  ไกเปื้อยหรือไกไหม  เกาะหินเป็นกระจุกแล้วกระจาย แผ่ออกไปเป็นเส้นเล็กฝอยมีจำนวนเส้นมาก  
     เส้นเหนียวและลื่น สีเขียวซีดยาวประมาณ 80 เซนติเมตร
3.  ไกต๊ะ  ลักษณะออกเป็นกระจุกอยู่ปนกับไกไหม เส้นสั้นและมีความลื่นมาก
                    การเก็บสาหร่ายไกจากแหล่งน้ำธรรมชาตินั้น  ชาวบ้านจะรอให้สาหร่ายเจริญเต็มที่ซึ่งจะมีขนาดยาวมากตั้งแต่ครึ่งเมตร  ไปจนถึง  4 - 5  เมตร  โดยการ  "จกไก" ซึ่งก็คือ  การดึงสาหร่ายที่มีขนาดยาวพอเหมาะออกจากก้อนหินแล้วส่ายไปมาในน้ำให้ดินหรือสิ่งที่เกาะมาหลุดออกไป  พาดไว้บนท่อนแขน  สะสมไปเรื่อย ๆ จนมากพอก็จะม้วนให้เป็นกลุ่มก้อน  นำไปตากหรือแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ต่อไป
                     จากความมากมายของสาหร่ายไกในลำน้ำน่านและลำน้ำโขงนี้เอง  ทำให้เกิดภูมิปัญญาชาวบ้าน  นำสาหร่ายเหล่านี้ไปแปรรูปเป็นอาหารมากว่า 100 ปี  อาหารดั้งเดิมที่ชาวบ้านทั้ง 2 แหล่งน้ำ  ทำมาจากสาหร่ายชนิดนี้  คือ  ไกยี   และ  "ห่อนึ่งไก   ซึ่งมีหน้าตาคล้าย ๆ กันทั้ง 2 ชุมชน    ไกยี  นั้นทำได้โดยนำสาหร่ายไกมาตากให้แห้ง  แล้วนำมาผิงไฟให้กรอบ  จากนั้นก็ใช้มือบดขยี้  หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า  ยี  ให้สาหร่ายแตกออกเป็นแผ่นเล็ก ๆ หรืออาจจะให้เล็กจนเกือบป่นเลย  หลังจากนั้นนำมาปรุงรสด้วย  เกลือ  และงาขาวคั่ว  จะได้  ไกยี”  ที่มีรสชาติดี  หอมทั้งกลิ่นธรรมชาติของสาหร่ายและงาคั่วรสเค็มปะแล่ม ๆ ทานกับข้าวเหนียวร้อน ๆ  ส่วนห่อนึ่งไกนั้นทำคล้ายกับห่อหมก  เพียงแต่เปลี่ยนจากปลามาเป็นสาหร่ายไกสด  คลุกกับน้ำพริกแล้วนำไปนึ่งก็อร่อยไม่แพ้ห่อหมกเลยจริง ๆ ต่อมาก็มีการประยุกต์โดยการแปรรูปสาหร่ายไกให้เป็นสาหร่ายแผ่นกรอบ โดยนำสาหร่ายไกที่ตากแห้งปรุงรสด้วยเกลือ  กระเทียม  มาทอดให้กรอบ  สามารถจำหน่ายได้และขายดีทีเดียว  ข้าวเกรียบไกก็เป็นสินค้าอีกประเภทหนึ่ง  ซึ่งปรุงง่ายและขายง่าย  นอกจากนี้ยังมีบะหมี่ไก  ข้าวตังหน้าสาหร่ายไก  กะหรี่ปั๊บไส้สาหร่ายไก  คุกกี้สาหร่ายไก  กรอบเค็ม  กล้วยตากผสมสาหร่ายไ  หรือแม้กระทั่งน้ำพริกไก  ซึ่งผลิตภัณฑ์ทุกอย่างก็ได้ทยอยออกมาจำหน่าย  แต่เป็นการจำหน่ายภายในชุมชน  ตัวเมือง  หรือภายในจังหวัดที่ตนเองอยู่  บางครั้งอาจมีการจำหน่ายไปยังจังหวัดอื่น ๆ แต่ก็ไม่บ่อยนัก  และมักจะเป็นช่วงสั้น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ออกมายังต้องมีการปรับปรุงบ้างในเรื่องคุณภาพ  ที่ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน  มักจะหายกรอบหรือมักจะมีกลิ่นหืน  รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยังมีความหลากหลายเฉพาะกลุ่ม  ซึ่งต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายในกลุ่มอื่น ๆ ให้มากขึ้น  และเพื่อจำหน่ายได้กว้างขวางกว่าปัจจุบัน
                  คุณค่าของสาหร่ายไก  มีปริมาณโปรตีนสูงกว่าปลาน้ำจืดทั่วไป  ทดแทนการกินปลาได้เป็นอย่างดี  และที่โดดเด่นคือ มีซิลีเนียม  ซึ่งเป็นสารป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระสูงมาก  มีเบต้าแคโรทีนที่มากกว่าแครอทถึง 4 เท่า  ช่วยลดคลอเลสเตอรอลจึงไม่ทำให้อ้วน  นอกจากนั้น  ชาวบ้านมีความเชื่อว่า  การทานสาหร่ายไกนี้  จะทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย  ผมดกดำ  ไม่หงอกง่าย  และชะลอความแก่
                  ถ้ามองด้านสรรพคุณทางยาก็จะพบว่าสาหร่ายไก  มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ  ขยายหลอดลม  ต้านการอักเสบ ระงับปวด  และลดความดันโลหิตได้ด้วย  ซึ่งสรรพคุณดังกล่าวน่าสนใจมากทีเดียว
                   เมื่อรู้คุณค่าและประโยชน์ของสาหร่ายไกดังนี้แล้ว  ก็ขอเชิญชวนทุกท่านหันมาบริโภคสาหร่ายไกกันให้มากยิ่งขึ้น   เพราะเป็นผลดีทั้งต่อผู้บริโภคเองและผู้ผลิตในชุมชนด้วย



วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การใช้ประโชยน์จากสาหร่าย

การใช้ประโยชน์จากสาหร่าย
- ใช้เป็นอาหารมนุษย์ มนุษย์รู้จักนำสาหร่ายมาใช้เป็นอาหารนานนับพันปีแล้ว เช่น ชาวจีน ญี่ปุ่น ใช้สาหร่ายสีน้ำตาล (Laminaria) และสาหร่ายสีแดง (Porphyra) หรือที่เรียกว่า จีฉ่าย มาทำอาหารพวกแกงจืด ญี่ปุ่นผสม Chlorella sp. ลงในชา ซุป น้ำผลไม้ บะหมี่ และไอศครีม สำหรับห้องปฏิบัติการสาหร่ายตามธรรมชาติ คัดแยกสายพันธุ์บริสุทธิ์ วิเคราะห์ปริมาณโปรตีน 40-50% ศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายในห้องควบคุมเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลี้ยงในอ่างขนาดใหญ่เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม ซึ่งผลงานวิจัยมีมากมาย เช่น การเพาะเลี้ยงสาหร่าย Spirulina Sp. ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีโซเดียมไบคาร์บอเนตระดับต่าง ๆ กัน การคัดเลือกหาสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว Spirulina Sp. เพื่อใช้เป็นอาหารมนุษย์ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพันธุ์พื้นบ้านเพื่อหาปริมาณโปรตีนเปรียบเทียบกับพันธุ์ Scenedesmus acutus (Selection of Local Algal Strains Related to Protein Content Compared with Scenedesmus acutus) เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของสาหร่ายจากการเพาะเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ 2 ชนิด (Growth Comparison of Green Algec Cultivated in Two Different Media.)


        สำหรับสาหร่ายเกลียวทอง เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันในรูปของอาหารเสริมสุขภาพ เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่นคือ มีปริมาณโปรตีนสูงถึง 60% และเป็นโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นกระจัดกระจายอยู่ในเซลล์อย่างได้สัดส่วน มีวิตามิน เกลือแร่ และสารให้สีธรรมชาติจำนวนมาก นอกจากนี้สาหร่ายเกลียวทองยังมีเซลล์ขนาดใหญ่ สามารถเก็บเกี่ยวได้ง่าย ผนังเซลล์บาง จึงถูกย่อยและดูดซึมได้เร็วกว่าสาหร่ายสีเขียวซึ่งมีผนังเซลล์หนา
- ใช้เป็นอาหารสัตว์ สาหร่ายสามารถนำไปเลี้ยงสัตว์กระเพาะเดี่ยว เช่น หมู และสัตว์ปีกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้สาหร่ายยังเป็นอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อนที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น ปลา กุ้งและแพลงตอนสัตว์ เช่น ไรแดง ไรน้ำเค็ม ในประเทศญี่ปุ่นใช้สาหร่ายเกลียวทองเลี้ยงปลาไหล ปลาเทร้า กุ้ง ปลาคาร์พสี เป็นต้น ทำให้เศรษฐกิจของอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาสวยงามได้พัฒนาก้าวไกลออกไปมาก ผลงานวิจัย เช่น การเลี้ยงสาหร่าย Spirulina Sp. จากน้ำทิ้งแหล่งชุมชนเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ การศึกษาปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสมของสาหร่าย Chlorella Sp. (K3) สำหรับนำไปเลี้ยงพวกไดอะตอม แพลงตอนสัตว์ (Lapadella benjamini) ที่ระดับความหนาแน่นแตกต่างกัน การนำ Chlorella Sp. ที่ได้จากการเลี้ยงในน้ำทิ้งโรงงานผลิตน้ำนมถั่วเหลืองมาเลี้ยงไรแดง ความเป็นไปได้ในการเลี้ยงหอยมุกน้ำจืด Chamberlai hainesiana ด้วยสาหร่ายชนิดต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
- ใช้ในการกำจัดน้ำเสีย การใช้สาหร่ายในการกำจัดน้ำเสียร่วมกับแบคทีเรีย โดยแบคทีเรียจะทำการย่อยสารประกอบอินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ให้เป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น แอมโมเนียม ไนเตรต คาร์บอนไดออกไซด์ และเกลือแร่ต่าง ๆ ในสภาพการเกิดที่มีอากาศ (aerobic) หรือไม่มีอากาศ (anaerobic) จากนั้นสาหร่ายจะใช้สารประกอบเหล่านี้ในกระบวนการเมตาบอลิสมต่าง ๆ สำหรับสาหร่ายที่ได้จากระบบกำจัดน้ำเสียนี้ อาจนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ยพืชสด หรือใช้ในการทำแก๊สชีวภาพได้ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ การศึกษาการเจริญเติบโตของสาหร่าย Spirulina platensis ที่เพาะเลี้ยงในมูลหมูผสมมูลไก่ที่มีการหมุนเวียนของสารอาหารแตกต่างกัน การผลิตสาหร่ายเกลียวทอง จากน้ำทิ้งโรงงานแป้งมันสำปะหลัง การเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองจากน้ำทิ้งโรงงานน้ำอัดลม เป็นต้น
- ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (Blue green algae) รู้จักกันแพร่หลายในแง่ของการใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ จากการวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบว่าสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในนาข้าวบางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกอบไนโตรเจน เช่น แอมโมเนียม ทำให้ข้าวเจริญเติบโต ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ Anabaena sp. และ Nostoc sp. พันธุ์ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบในประเทศและให้ผลผลิตดี มีชื่อว่า Anabaena siamensis
- ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สาหร่ายประกอบด้วยสารเคมีบางชนิดที่ช่วยในการรักษาผิวหนัง ชนเผ่า Kanembu ที่อยู่รอบทะเลสาบชาด ได้ใช้สาหร่ายเกลียวทองรักษาโรคผิวหนังบางชนิด การศึกษาในประเทศญี่ปุ่นพบว่า เครื่องสำอางที่ผสมสาหร่ายและสารสกัดจากสาหร่ายเกลียวทองช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้นและลดริ้วรอย ส่วนในประเทศไทยก็ได้มีบริษัทหลายแห่งที่ใช้สาหร่ายเกลียวทองเป็นเครื่องสำอางในรูปครีมบำรุงผิว
- ใช้ในอุตสาหกรรมยา นักวิทยาศาสตร์และนายแพทย์หลายท่านได้ทดลองใช้สาหร่ายเกลียวทองในการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคกระเพาะ อีกทั้งยังช่วยลดความเครียดและความไม่สมดุลในร่างกาย ในประเทศฝรั่งเศส ได้ทดลองใช้ยาที่ผสมสาหร่ายเกลียวทองทาแผล ทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น ธาตุแมกนีเซียมในคลอโรฟิลล์ยังมีบทบาทอย่างสำคัญในการรักษาบาดแผล มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อป้องกันการเกิดของแบคทีเรียและช่วยสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ด้วย คลอโรฟิลล์ในสาหร่ายมีโครงสร้างเหมือนสารสีแดงในเลือด (hemo-globin) นักวิทยาศาสตร์จึงแนะนำให้ใช้คลอโรฟิลล์รักษาโรคโลหิตจาง นอกจากนี้สาหร่ายบางชนิดสารปฏิชีวนะซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ ได้แก่ cyanophycin หรือ marinamycin ซึ่งสารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ได้ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว scytonema No.11 เป็นสาหร่ายที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย แยกได้จากดินนาจังหวัดพิษณุโลก พบว่า สามารถผลิตสารปฏิชีวนะ Cyanobacterin ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นทั้ง algicide และ bacteriocide ที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของสาหร่ายและแบคทีเรียบางชนิดได้
- ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ
สาหร่ายสีแดงพวก Gelidium, Gracilaria สามารถนำไปสกัดทำเป็นวุ้น เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาหาร และเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์
สาหร่ายสีน้ำตาลพวก Laminaria, Ascophyllum, Macrocystis นำไปสกัดเป็น แอลจินหรือแอลจิเนต ซึ่งนำไปใช้ในการทำนม ขนมปัง ไอศครีม ขนมหวาน ลูกกวาด สบู่ แชมพูสระผม เป็นต้น
ปัจจุบันห้องปฏิบัติการสาหร่ายนอกจากจะพัฒนากรรมวิธีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเป็นแหล่งอาหารโปรตีนแล้ว ยังได้นำสายพันธุ์สาหร่ายที่มีศักยภาพที่สามารถผลิตในทางการค้า เช่น Chlorella, Scenedesmusbs Spirulina, Dunaliella, Haematococcus มาศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเพื่อผลิตสารอาหารหรือสารเคมีที่มีมูลค่าสูง รวมทั้งวิธีการสกัด การนำไปใช้ประโยชน์และการแปรรูปในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการสาหร่ายยังให้บริการสายพันธุ์สาหร่าย ให้คำปรึกษา แนะนำด้านการเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์จากสาหร่ายแก่นิสิต นักศึกษาและประชาชนที่สนใจ

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่าย

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่าย สายพันธุ์สาหร่ายที่จะนามาเพาะเลี้ยงในทางการค้า ควรเป็นสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตได้รวดเร็ว มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่มีสารพิษ ทนทานต่ออุณหภูมิสูง ถ้าเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ก็จะง่ายต่อการเก็บเกี่ยว
เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายมี 3 ขั้นตอนที่สาคัญ คือ
1. การเพาะเลี้ยง (Algal cultivation) ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงหัวเชื้อสาหร่ายในห้องควบคุม การเพาะเลี้ยงในอ่างขนาดใหญ่ การกวน การให้อากาศ และการใส่สารอาหาร
2. การเก็บเกี่ยว (Harvesting) โดยจะใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ ตามแต่ชนิดของสาหร่าย เช่น เครื่องเหวี่ยง การตกตะกอน การกรอง
3. การทาแห้ง (Drying) โดยวิธีต่าง ๆ เช่น การตากแดด (Sun-drying) ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar-drying) การอบแห้งแบบลูกกลิ้ง (Drum-drying) การอบแห้งแบบพ่นฝอย (Spray-drying) การอบแห้งแบบระเหิด (Freeze-drying)

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สาหร่ายคืออะไร

สาหร่ายคืออะไร ถ้าถามว่าสาหร่ายคืออะไร คงจะตอบได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากสาหร่ายมีความแตกต่างกันในเรื่องของที่อยู่อาศัย ขนาดสรีระ ชีวเคมี การสืบพันธุ์ และการจัดระเบียบขึ้นมา อย่างไรก็ตามได้มีผู้ให้คาจากัดความที่ครอบคลุมความหมายของคาว่าสาหร่ายได้ดีพอสมควร โดยคาว่า "สาหร่าย" หมายถึง พืชชั้นต่าที่มีคลอโรฟิลล์ สามารถสังเคราะห์แสงได้ ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลาต้น ใบ ที่แท้จริง มีขนาดตั้งแต่เล็กมากประกอบด้วยเซลล์เดียว ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จนถึงขนาดใหญ่ยาวเป็นเมตรประกอบด้วยเซลล์จานวนมาก อาจมีลักษณะเป็นเส้นสายหรือมีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูง โดยมีส่วนที่คล้ายราก ลาต้น และใบรวมเรียกว่า Thallus

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สาหร่ายเป็นจุลินทรีย์

สาหร่ายเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีความสาคัญอย่างยิ่งต่อสภาพแวดล้อมของโลกและความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของต้นทางห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศน์ เป็นตัวการในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ สามารถสร้างสารพิเศษบางชนิดที่มีประโยชน์และโทษต่อมนุษย์ ฉะนั้นจึงมีการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่าย เพื่อที่จะรวบรวมและจัดจาแนกให้เป็นระบบสามารถนามาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
 การศึกษาค้นคว้าหาแหล่งอาหารโปรตีนแหล่งอื่นนอกเหนือจากโปรตีนจากเนื้อสัตว์และพืช ซึ่งนับวันการผลิตจะไม่เพียงพอกับการเพิ่มของประชากรโลก สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-เยอรมัน ได้เห็นความสาคัญของสาหร่ายเป็นแหล่งอาหารโปรตีนและสารเคมีที่มีมูลค่าสูง เพราะประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนซึ่งเหมาะต่อการเพาะเลี้ยงสาหร่ายได้ตลอดทั้งปีโดยอาศัยพลังงานจากแสงแดด จึงได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการสาหร่ายขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เพื่อศึกษาค้นคว้า ทดลองและวิจัย การเพาะเลี้ยงสาหร่ายโดยทาการสารวจรวบรวมสายพันธุ์สาหร่ายน้าจืดจากแหล่งน้าต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย แยกเชื้อสาหร่ายบริสุทธิ์และเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่ายในสภาพที่เป็นวุ้น ซึ่งในระยะแรกศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของสาหร่ายในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ในระยะต่อมาทดลองทาอาหารบางชนิดโดยการผสมสาหร่ายเพื่อทดสอบความนิยมของผู้บริโภค รวมทั้งการทดสอบความเป็นพิษของสาหร่ายด้วย
          สาหร่ายทะเล เป็นพืชที่เกิดขึ้นในทะเลที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์เรามาก ในประเทศไทยสารวจพบว่าทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันมีสาหร่ายทะเลจานวน 106 สกุล 260 ชนิด แต่ที่นามาใช้ประโยชน์ได้ 17 สกุล มีมากในแถบจังหวัดสุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ตราด และจันทบุรี มีทั้งสาหร่ายทะเลสีเขียว สีแดง และสาหร่ายทะเลสีน้าตาลค่ะ ซึ่งมันจะเกาะอยู่กันเป็นกลุ่มหนาทึบบริเวณโขดหิน หรือลอยมากับน้าทะเลเวลามีคลื่นแรง ๆ แม้ว่าสาหร่ายทะเลจะถูกจัดให้เป็นพืชชั้นต่า..แต่ความสาคัญที่มันมีต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมนั้นมีมากมาย นั่นคือ การเป็นผู้ผลิตเบื้องต้นในระบบนิเวศน์ของสิ่งแวดล้อม แม้แต่อากาศบริสุทธิ์ที่เราหายใจทุกวัน ก็ได้มาจากผลพลอยได้ของกระบวนการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายทะเล และเป็นตัวแบ่งความตื้นลึกของทะเลด้วยค่ะ เพราะสาหร่ายทะเลส่วนใหญ่จะไม่ขึ้นในน้าที่ลึกเกินกว่า 50 เมตรค่ะ และที่สาคัญเป็นอาหารของสัตว์น้า และให้ทั้งกับมนุษย์อีกด้วยค่ะ เพราะมีสารอาหารและแร่ธาตุที่
เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย คือ คาร์โบ-ไฮเดรต แต่โปรตีนและไขมันนั้นแทบจะไม่มีเลย จึงเป็นอาหารที่มีแคลอรี่ต่า เป็นแหล่งสะสมพวกเกลือแร่ เช่น เหล็ก แคลเซียมและไอโอดีน จึงเป็นประโยชน์ด้านการแพทย์อีกด้วย แพทย์จะใช้สาหร่ายทะเลสีน้าตาลมาเป็นตัวรักษาโรคคอพอกเพราะมันมีสารไอโอดีนสูง นอกจากนี้ยังมีการนาสาหร่ายมาทาการทดสอบทางการแพทย์อีกด้วย นอกจากนี้สาหร่ายทะเลจะได้รับการพัฒนาให้เป็นอาหารสาหรับนักบินอวกาศด้วยนะค๊ะ เพราะในยานอวกาศนั้นมีขีดจากัดในเรื่องของน้าและอาหาร บางคนนาสาหร่ายทะเลหรือรากของมัน มาแช่ในน้าเย็น 1 แก้ว ทิ้งค้างคืน นามาดื่มในตอนเช้า เป็นประจาทุกวัน จะแก้อาการท้องผูกได้ /ถ้ามีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ให้รับประทานสาหร่ายทะเลวันละครั้งค่ะ และมีอีกหลายวิธีการที่จะนามาทาเป็นยาที่เป็นภูมิปัญญาของคนในสมัยก่อน
         สำหรับประโยชน์ด้านการเกษตร สาหร่ายทะเลมีธาตุโปแตสเซียมค่ะ เราสามารถนามาทาปุ๋ยเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่มีคุณค่าทางการเกษตรเป็นประโยชน์ต่อพืช ส่วนประโยชน์ด้านการค้า เราจะนามาใช้เป็นวัตถุดิบในการสกัดเป็นวุ้นใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสาอาง ยารักษาโรค การฟอกหนัง และอุตสาหกรรมสิ่งทอ วุ้นที่ได้ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่สกัดมาจากสาหร่ายทะเลสีแดง ถึงแม้ว่าสาหร่ายทะเลจะมีประโยชน์อันหลากหลาย มันก็มีสิ่งที่ก่อให้เกิดโทษบ้างเช่นกัน นั่นคือ หากมันขึ้นมามากเกินไป เกาะอยู่ตามโขดหิน ชายฝั่งอย่างหนาแน่น สายของสาหร่ายก็จะสุมกันเป็นกองสวะใหญ่ลอยเป็นแพอยู่ในน้า จะทาให้น้าทะเลมีสีต่างๆ เช่น สีเขียวสีน้าเงินแกมเขียว สีน้าตาล สีแดงซึ่งจาเป็นจะต้องตักทิ้งและกาจัดออกบ้าง ซึ่งปรากฏการณ์นี้เรียกว่า ขี้ปลาวาฬ (water bloom)

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สาหร่าย



สาหร่าย (Algae) เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในกลุ่มยูคาริโอต (eucaryote) ส่วนใหญ่จะมีคลอโรฟิลล์ที่เป็น สารสี เขียวที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง มีทั้งที่เป็นเซลล์ เดียวอยู่เป็นอิสระเกาะติดกับพืชอื่นหรือก้อนหิน อยู่เป็นกลุ่ม เป็นสาย จนถึงมีโครงสร้างซับซ้อนสาหร่ายแต่ละชนิดจะมีชนิดของรงควัตถุ ชนิดของอาหารที่ สะสมไว้ภายในเซลล์ สารประกอบ ทางเคมีของผนังเซลล์ ลักษณะและตาแหน่งของอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่ (flagella) และอวัยวะสืบ พันธุ์แตกต่างกัน จากคุณสมบัติที่แตกต่างกันดังกล่าว
สามารถแบ่งสาหร่ายออกเป็นกลุ่มๆ ได้ 7 กลุ่มดังนี้
1. ดิวิชัน คลอโรไฟตา (Division Chlorophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สาหร่ายสีเขียวจัดเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด พบทั้งในน้าจืด น้าเค็ม และน้ากร่อย บางชนิดลอยตามผิวน้า บางชนิดเกาะกับ พืชอื่นหรือก้อนหิน บางชนิดอาศัยอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่น เช่น ในโปรโตซัว ไฮดรา หรือฟองน้า ในแหล่งน้าธรรมชาติ บางครั้งจะพบว่าน้ามีสีเขียวเข้ม เกิดขึ้น สีเขียวดังกล่าวคือ สาหร่ายในกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่
2. ดิวิชัน ยูกลีโนไฟตา (Division Euglenophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีอยู่ 2 พวกคือ พวกที่สังเคราะห์อาหารเองได้ และพวกที่สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างเป็นเซลล์เดียว เคลื่อนที่ได้ มีลักษณะคล้ายโปรโตซัว
 3. ดิวิชัน แคโรไฟตา (Division Charophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้พบมากในบ่อน้าจืดในทะเลสาบ หรือแหล่งน้าที่มีหินปูนละลายอยู่ สาหร่ายในกลุ่มนี้จะ มีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูงมาก เช่น มีส่วนที่ทาหน้าที่คล้ายลาต้น ใบ และราก
4. ดิวิชัน ฟีโอไฟตา (Division Phaeophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สาหร่ายสีน้าตาล เนื่องจากภายในเซลล์ของสาหร่ายกลุ่มนี้มี รงควัตถุพวก ฟูโคแซนทิน(fucoxanthin) ที่ทาให้เกิดสีน้าตาลมากกว่ารงควัตถุอื่น สาหร่ายในกลุ่มนี้มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาก คือ บางชนิด ใช้เป็นอาหารโดยตรง ซึ่งนิยมรับประทานกันในยุโรป บางชนิดนามาสกัดสารประกอบพวกแอลจิน (algin) เพื่อใช้ทาสี ทายา และขนมหวานบางชนิด
5. ดิวิชัน คริสโซไฟตา (Division Chrysophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีรงควัตถุฟูโคแซนทินเหมือนสาหร่ายสีน้าตาล แต่มีในปริมาณน้อยกว่า แบ่งได้เป็น 3 พวกใหญ่ คือ สาหร่ายสีเขียวแกมเหลือง สีน้าตาลแกมเหลือง และไดอะตอม กลุ่มที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากคือ ไดอะตอม เนื่องจากการตายทับถม กันของพวกไดอะตอมเป็น เวลานาน จนกลายเป็นไดอะตอมมาเชียส เอิร์ท (diatomaceous earth) ซึ่งมีประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ยาขัดเครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง ใช้ในการฟอกสี และเป็นฉนวน
6. ดิวิชัน ไพร์โรไฟตา (Division Pyrrophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเซลล์เดียว พบทั้งในน้าจืดและน้าเค็ม ในทะเลบางครั้งจะเกิดปรากฏการณ์ น้าทะเลเปลี่ยนสี ส่วนใหญ่จะเกิดจากสาหร่ายในกลุ่มนี้เจริญเติบโตและเพิ่มจานวนมากผิดปกติ (water boom) ซึ่งชาวทะเลเรียกว่า ขี้ปลาวาฬ
 7. ดิวิชัน โรโดไฟตา (Division Rhodophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สาหร่ายสีแดง มีประโยชน์ต่อมนุษย์เช่นเดียวกับสาหร่ายสีน้าตาล เนื่องจากสารเมือกที่สกัดออกจากผนังเซลล์เรียกว่า คาร์แรจีแนน (carrageenan) นามาผลิตเป็นวุ้นได้ นอกจากนี้สาหร่ายสีแดงยังนามาประกอบ เป็นอาหารโดยตรงที่ทุกคนรู้จักกันดีในชื่อ “จีฉ่าย”