วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สาหร่าย พลังงานใหม่จากโลกใต้น้ำ

          สาหร่าย พลังงานใหม่จากโลกใต้น้ำ
          นานนับศตวรรษที่น้ำมันดิบเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และนับวัน      ยิ่งมีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น ทว่าปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันตลอดจนสถานะ การเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป   รวมทั้งเป็นสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม   ทำให้หลายประเทศทั่วโลกคิดค้นพลังงานใหม่ ๆ ขึ้นมาทดแทน และหนึ่งในนั้นคือ พลังงานจากพืช หรือพลังงานสะอาด
           ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติซึ่งมีภาระหน้าที่หลักโดยตรงในการแสวงหาพลังงานใหม่ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในอนาคต จึงมุ่งมั่น คิดค้น และวิจัยเรื่องพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง  โดยเน้นไปที่ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   โดยร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน   เพื่อศึกษาตั้งแต่สายพันธุ์ กระบวนการผลิต และเทคโนโลยีในการผลิตพัฒนาจนเกิดเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ เช่น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีเซลปาล์ม (บริสุทธิ์) น้ำมันจากผลสบู่ดำ (กำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย) เป็นต้น   และในปัจจุบันพลังงานความหวังใหม่ของคนไทย ทั้งประเทศที่นักวิทยาศาสตร์ต่างให้ความสนใจ คือ สาหร่าย สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีคุณค่าอเนกอนันต์

          จะให้น้ำมันร้อยละ 25 ในขณะที่สาหร่ายให้น้ำมันมากถึงร้อยละ 1,000 ปริมาณน้ำมันนี้อาจเพียงพอกระทั่งผลิตเพื่อส่งออกต่างประเทศได้            สาหร่ายจัดเป็นพืชชั้นต่ำที่มีคลอโรฟิลล์สูง   จึงใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมากเพื่อสังเคราะห์แสง   ทั้งยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารไม่ว่าจะเป็น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เกลือแร่ และวิตามินหลายชนิด  ที่สำคัญคือมีน้ำมันในปริมาณมากที่จะสกัดออกมาใช้ หากมีการปลูกและการควบคุมตัวแปร รวมถึงสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดีจะมีส่วนช่วยทำให้สาหร่ายมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าพืชชนิดอื่น ๆ ทำให้เห็นถึงความเป็นไปได้หากนำมาศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นพืชพลังงาน ต่อไป

           จากการที่คณะนักวิจัยสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ได้เดินทางไปดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศนำร่องการผลิตน้ำมันจากสาหร่ายเพื่อมาใช้กับรถยนต์ จึงได้นำองค์ความรู้มาใช้ในการพัฒนาไบโอดีเซลในประเทศไทย โดย ปตท. ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และ BIOTEC ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาการผลิตน้ำมันจากสาหร่าย ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ การออกแบบระบบเพาะเลี้ยง และการสกัดน้ำมัน
         

             รศ.ดร.ประหยัด   โภคฐิติยุกต์ อาจารย์และนักวิจัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ได้รับทุนจาก ปตท. เพื่อวิจัยการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากสาหร่าย   ได้กล่าวถึงงานวิจัยในช่วงเบื้องต้นว่า สาหร่ายสีเขียว 3 ชนิด ที่นำมาทดสอบจะให้น้ำมันประมาณร้อยละ 20 -30    ขณะที่สาหร่ายทั่วไปจะให้น้ำมันเฉลี่ยราวร้อยละ 7-14   และสาหร่ายที่โตเร็วก็มักจะให้น้ำมันน้อยกว่าสาหร่ายที่โตช้า   คณะวิจัยได้เพาะเลี้ยงสาหร่ายในห้องทดลอง   เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งให้น้ำมันมากแล้วจึงขยายลงสู่บ่อเพาะเลี้ยงต่อไป   นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าสภาพแวดล้อมในประเทศไทยเหมาะแก่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายอย่างยิ่ง เพราะภายใน 24 ชั่วโมงสาหร่ายก็เติบโตได้อย่างสมบูรณ์   ขณะที่พืชพลังงานอื่น ๆ ต้องใช้เวลาเพาะปลูกนานกว่า 6-7 ปี  จึงจะสกัดน้ำมันได้ รศ.ดร.ประหยัดได้เปรียบเทียบว่าหากเลี้ยงสาหร่ายในบ่อพื้นที่ขนาดเท่ากับพื้นที่ปลูกสบู่ดำ 1 ต้น   เป็นเวลา 7 ปี สบู่ดำ


          ในส่วนของกรรมวิธีในการสกัดน้ำมันจากสาหร่ายนั้นคณะวิจัยได้นำองค์ความรู้ที่สืบเนื่องมาจากการวิจัยพืชพลังงานรุ่นก่อน   โดยวางแนวทางได้ 5 วิธี ได้แก่ การใช้แรงเหวี่ยงแยกเอาน้ำมันออก   การตกตะกอนแยกเอาตัวสาหร่ายออก การใช้สารละลายทางเคมีละลายเอาน้ำมันออก การใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นให้สาหร่ายคลายน้ำมัน และบีบอัดเพื่อให้คลายน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ยังเป็นแนวทางที่ยังต้องศึกษาต่อไปว่าวิธีใดเหมาะสมกับเครื่องยนต์และความต้องการในการใช้งานของคนไทยมากที่สุด   ในทางอ้อม ผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันจากสาหร่าย คือการนำกากสาหร่ายที่ตกตะกอนไปใช้เป็นวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น อาหารสัตว์ ปุ๋ย ยา เป็นต้น   นอกจากนี้สาหร่ายยังเอื้อประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ทั้งการสร้างงานของเกษตรกรสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ   บรรเทาผลกระทบจากวิกฤติราคาน้ำมันที่มีต่อทุกภาคส่วนของสังคม ก่อเกิดการขยายตัวของธุรกิจปิโตรเลียมและธุรกิจอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง

          ดร.ส่งเกียรติ   ทานสัมฤทธิ์   ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ได้เคยให้ทัศนะต่อการนำสาหร่ายมาเป็นพืชพลังงานว่า ไม่เพียงยังเป็นประโยชน์ในการเป็นพลังงานทดแทน การเพาะเลี้ยงสาหร่ายเป็นจำนวนมากยังช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดรออกไซด์จากการเผาไหม้ต่างๆ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีในการช่วยบรรเทาปัญหาโลกร้อนได้   และคาดว่าในอีก 2-3 ปี ข้างหน้าแวดวงพลังงานของไทยอาจค้นพบพลังงานรูปแบบใหม่ ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการใช้น้ำมันของคนไทยทั้งประเทศ
                อย่างไรก็ตาม ปตท. ยังมุ่งหวังให้พลังงานน้ำมันจากสาหร่ายเป็นพลังงานทางเลือกใหม่   เตรียมพร้อมไว้ใช้ในอนาคต   เพื่อให้ประเทศสามารถใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเกิดการคิดค้นพลังงานทดแทนเป็นทางออกให้กับวิกฤติทางด้านพลังงานในครั้งนี้   จิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าก็เช่นกัน   หากโลกต้องประสบภาวะขาดแคลนจนถึงจุดที่มนุษย์ทุกคนไม่มีน้ำมันดิฐใช้   พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาด สาหร่าย อาจเป็นหนึ่งทางรอดที่ช่วยเยียวยาเรื่องวิกฤติพลังงานน้ำมันของมนุษยชาติในอนาคต





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น