วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สาหร่ายเป็นจุลินทรีย์

สาหร่ายเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีความสาคัญอย่างยิ่งต่อสภาพแวดล้อมของโลกและความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของต้นทางห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศน์ เป็นตัวการในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ สามารถสร้างสารพิเศษบางชนิดที่มีประโยชน์และโทษต่อมนุษย์ ฉะนั้นจึงมีการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่าย เพื่อที่จะรวบรวมและจัดจาแนกให้เป็นระบบสามารถนามาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
 การศึกษาค้นคว้าหาแหล่งอาหารโปรตีนแหล่งอื่นนอกเหนือจากโปรตีนจากเนื้อสัตว์และพืช ซึ่งนับวันการผลิตจะไม่เพียงพอกับการเพิ่มของประชากรโลก สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-เยอรมัน ได้เห็นความสาคัญของสาหร่ายเป็นแหล่งอาหารโปรตีนและสารเคมีที่มีมูลค่าสูง เพราะประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนซึ่งเหมาะต่อการเพาะเลี้ยงสาหร่ายได้ตลอดทั้งปีโดยอาศัยพลังงานจากแสงแดด จึงได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการสาหร่ายขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เพื่อศึกษาค้นคว้า ทดลองและวิจัย การเพาะเลี้ยงสาหร่ายโดยทาการสารวจรวบรวมสายพันธุ์สาหร่ายน้าจืดจากแหล่งน้าต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย แยกเชื้อสาหร่ายบริสุทธิ์และเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่ายในสภาพที่เป็นวุ้น ซึ่งในระยะแรกศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของสาหร่ายในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ในระยะต่อมาทดลองทาอาหารบางชนิดโดยการผสมสาหร่ายเพื่อทดสอบความนิยมของผู้บริโภค รวมทั้งการทดสอบความเป็นพิษของสาหร่ายด้วย
          สาหร่ายทะเล เป็นพืชที่เกิดขึ้นในทะเลที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์เรามาก ในประเทศไทยสารวจพบว่าทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันมีสาหร่ายทะเลจานวน 106 สกุล 260 ชนิด แต่ที่นามาใช้ประโยชน์ได้ 17 สกุล มีมากในแถบจังหวัดสุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ตราด และจันทบุรี มีทั้งสาหร่ายทะเลสีเขียว สีแดง และสาหร่ายทะเลสีน้าตาลค่ะ ซึ่งมันจะเกาะอยู่กันเป็นกลุ่มหนาทึบบริเวณโขดหิน หรือลอยมากับน้าทะเลเวลามีคลื่นแรง ๆ แม้ว่าสาหร่ายทะเลจะถูกจัดให้เป็นพืชชั้นต่า..แต่ความสาคัญที่มันมีต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมนั้นมีมากมาย นั่นคือ การเป็นผู้ผลิตเบื้องต้นในระบบนิเวศน์ของสิ่งแวดล้อม แม้แต่อากาศบริสุทธิ์ที่เราหายใจทุกวัน ก็ได้มาจากผลพลอยได้ของกระบวนการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายทะเล และเป็นตัวแบ่งความตื้นลึกของทะเลด้วยค่ะ เพราะสาหร่ายทะเลส่วนใหญ่จะไม่ขึ้นในน้าที่ลึกเกินกว่า 50 เมตรค่ะ และที่สาคัญเป็นอาหารของสัตว์น้า และให้ทั้งกับมนุษย์อีกด้วยค่ะ เพราะมีสารอาหารและแร่ธาตุที่
เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย คือ คาร์โบ-ไฮเดรต แต่โปรตีนและไขมันนั้นแทบจะไม่มีเลย จึงเป็นอาหารที่มีแคลอรี่ต่า เป็นแหล่งสะสมพวกเกลือแร่ เช่น เหล็ก แคลเซียมและไอโอดีน จึงเป็นประโยชน์ด้านการแพทย์อีกด้วย แพทย์จะใช้สาหร่ายทะเลสีน้าตาลมาเป็นตัวรักษาโรคคอพอกเพราะมันมีสารไอโอดีนสูง นอกจากนี้ยังมีการนาสาหร่ายมาทาการทดสอบทางการแพทย์อีกด้วย นอกจากนี้สาหร่ายทะเลจะได้รับการพัฒนาให้เป็นอาหารสาหรับนักบินอวกาศด้วยนะค๊ะ เพราะในยานอวกาศนั้นมีขีดจากัดในเรื่องของน้าและอาหาร บางคนนาสาหร่ายทะเลหรือรากของมัน มาแช่ในน้าเย็น 1 แก้ว ทิ้งค้างคืน นามาดื่มในตอนเช้า เป็นประจาทุกวัน จะแก้อาการท้องผูกได้ /ถ้ามีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ให้รับประทานสาหร่ายทะเลวันละครั้งค่ะ และมีอีกหลายวิธีการที่จะนามาทาเป็นยาที่เป็นภูมิปัญญาของคนในสมัยก่อน
         สำหรับประโยชน์ด้านการเกษตร สาหร่ายทะเลมีธาตุโปแตสเซียมค่ะ เราสามารถนามาทาปุ๋ยเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่มีคุณค่าทางการเกษตรเป็นประโยชน์ต่อพืช ส่วนประโยชน์ด้านการค้า เราจะนามาใช้เป็นวัตถุดิบในการสกัดเป็นวุ้นใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสาอาง ยารักษาโรค การฟอกหนัง และอุตสาหกรรมสิ่งทอ วุ้นที่ได้ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่สกัดมาจากสาหร่ายทะเลสีแดง ถึงแม้ว่าสาหร่ายทะเลจะมีประโยชน์อันหลากหลาย มันก็มีสิ่งที่ก่อให้เกิดโทษบ้างเช่นกัน นั่นคือ หากมันขึ้นมามากเกินไป เกาะอยู่ตามโขดหิน ชายฝั่งอย่างหนาแน่น สายของสาหร่ายก็จะสุมกันเป็นกองสวะใหญ่ลอยเป็นแพอยู่ในน้า จะทาให้น้าทะเลมีสีต่างๆ เช่น สีเขียวสีน้าเงินแกมเขียว สีน้าตาล สีแดงซึ่งจาเป็นจะต้องตักทิ้งและกาจัดออกบ้าง ซึ่งปรากฏการณ์นี้เรียกว่า ขี้ปลาวาฬ (water bloom)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น