วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สาหร่าย



สาหร่าย (Algae) เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในกลุ่มยูคาริโอต (eucaryote) ส่วนใหญ่จะมีคลอโรฟิลล์ที่เป็น สารสี เขียวที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง มีทั้งที่เป็นเซลล์ เดียวอยู่เป็นอิสระเกาะติดกับพืชอื่นหรือก้อนหิน อยู่เป็นกลุ่ม เป็นสาย จนถึงมีโครงสร้างซับซ้อนสาหร่ายแต่ละชนิดจะมีชนิดของรงควัตถุ ชนิดของอาหารที่ สะสมไว้ภายในเซลล์ สารประกอบ ทางเคมีของผนังเซลล์ ลักษณะและตาแหน่งของอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่ (flagella) และอวัยวะสืบ พันธุ์แตกต่างกัน จากคุณสมบัติที่แตกต่างกันดังกล่าว
สามารถแบ่งสาหร่ายออกเป็นกลุ่มๆ ได้ 7 กลุ่มดังนี้
1. ดิวิชัน คลอโรไฟตา (Division Chlorophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สาหร่ายสีเขียวจัดเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด พบทั้งในน้าจืด น้าเค็ม และน้ากร่อย บางชนิดลอยตามผิวน้า บางชนิดเกาะกับ พืชอื่นหรือก้อนหิน บางชนิดอาศัยอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่น เช่น ในโปรโตซัว ไฮดรา หรือฟองน้า ในแหล่งน้าธรรมชาติ บางครั้งจะพบว่าน้ามีสีเขียวเข้ม เกิดขึ้น สีเขียวดังกล่าวคือ สาหร่ายในกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่
2. ดิวิชัน ยูกลีโนไฟตา (Division Euglenophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีอยู่ 2 พวกคือ พวกที่สังเคราะห์อาหารเองได้ และพวกที่สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างเป็นเซลล์เดียว เคลื่อนที่ได้ มีลักษณะคล้ายโปรโตซัว
 3. ดิวิชัน แคโรไฟตา (Division Charophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้พบมากในบ่อน้าจืดในทะเลสาบ หรือแหล่งน้าที่มีหินปูนละลายอยู่ สาหร่ายในกลุ่มนี้จะ มีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูงมาก เช่น มีส่วนที่ทาหน้าที่คล้ายลาต้น ใบ และราก
4. ดิวิชัน ฟีโอไฟตา (Division Phaeophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สาหร่ายสีน้าตาล เนื่องจากภายในเซลล์ของสาหร่ายกลุ่มนี้มี รงควัตถุพวก ฟูโคแซนทิน(fucoxanthin) ที่ทาให้เกิดสีน้าตาลมากกว่ารงควัตถุอื่น สาหร่ายในกลุ่มนี้มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาก คือ บางชนิด ใช้เป็นอาหารโดยตรง ซึ่งนิยมรับประทานกันในยุโรป บางชนิดนามาสกัดสารประกอบพวกแอลจิน (algin) เพื่อใช้ทาสี ทายา และขนมหวานบางชนิด
5. ดิวิชัน คริสโซไฟตา (Division Chrysophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีรงควัตถุฟูโคแซนทินเหมือนสาหร่ายสีน้าตาล แต่มีในปริมาณน้อยกว่า แบ่งได้เป็น 3 พวกใหญ่ คือ สาหร่ายสีเขียวแกมเหลือง สีน้าตาลแกมเหลือง และไดอะตอม กลุ่มที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากคือ ไดอะตอม เนื่องจากการตายทับถม กันของพวกไดอะตอมเป็น เวลานาน จนกลายเป็นไดอะตอมมาเชียส เอิร์ท (diatomaceous earth) ซึ่งมีประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ยาขัดเครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง ใช้ในการฟอกสี และเป็นฉนวน
6. ดิวิชัน ไพร์โรไฟตา (Division Pyrrophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเซลล์เดียว พบทั้งในน้าจืดและน้าเค็ม ในทะเลบางครั้งจะเกิดปรากฏการณ์ น้าทะเลเปลี่ยนสี ส่วนใหญ่จะเกิดจากสาหร่ายในกลุ่มนี้เจริญเติบโตและเพิ่มจานวนมากผิดปกติ (water boom) ซึ่งชาวทะเลเรียกว่า ขี้ปลาวาฬ
 7. ดิวิชัน โรโดไฟตา (Division Rhodophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สาหร่ายสีแดง มีประโยชน์ต่อมนุษย์เช่นเดียวกับสาหร่ายสีน้าตาล เนื่องจากสารเมือกที่สกัดออกจากผนังเซลล์เรียกว่า คาร์แรจีแนน (carrageenan) นามาผลิตเป็นวุ้นได้ นอกจากนี้สาหร่ายสีแดงยังนามาประกอบ เป็นอาหารโดยตรงที่ทุกคนรู้จักกันดีในชื่อ “จีฉ่าย”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น